About Author

26 พฤษภาคม 2554

วิธีการทำรุ่นหญ้ามันสำปะหลัง

วันที่ 26 พ.ค. 54 วันนี้ปริมมาอัพเดพความคืบหน้าของไร่ปรินซโตน ตอนนี้อายุได้ประมาณสองเดือนนิด ๆ แล้ว ตามมาดูรูปภาพกันเลยดีกว่า




เห็นรูปหัวหมูนี้แล้วอย่า งง นะค่ะอันเนื่องมาจากพี่โตนเจ้าของไร่ ลงทุนไปเยอะ เลยต้องขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันหน่อย บนปุ๊บฝนตกปั๊บ มันเลยเขียวชะอุ่มเลย (คนตัดอ้อยไร่ข้างๆ กันบ่นพี่โตนใหญ่เลยว่า คุณหมอเอาหัวหมูถวายขอให้ฝนตก  พวกอิฉันเดือนร้อนเลย เพราะบนว่าขอฝนอย่าตก 3 วันให้ตัดอ้อยเสร็จก่อนค่อยตก ถ้าฝนไม่ตกจะถวายหัวหมู 3 หัว พี่โตนบอกว่า เจ้าพ่อรอไม่ไหวได้กินของใครก่อนก็ให้คนนั้น อิอิ) อันนี้เป็นมุขตลกจากพี่โตน เจ้าของไร่เค้าแหละค่ะ



 นี่มันอายุ 1 เดือน ใบเขียวดีค่ะ



 นี่ก็ 1 เดือน

  1 เดือน มองในมุมกว้างๆ 



รูปนี้ 1 เดือนเหมือนกันฝนตกเสร็จใหม่ ๆ เลย 




 มีหัวแล้วนะค่ะ รูปนี้พี่โตนบอกว่่า 45 วันค่ะ




 มาดูนี้เลย ไฮไลด์ของงานนี้เลย เอาควายลงทำรุ่นหญ้า นี่มันอายุได้ 45 วันนะค่ะ งามมาก ๆ พี่โตนบอกว่าฉีดพ่นปุ๋ยน้ำ นาโนอะมิโน+บูตเตอร์สีเงินทุกอาทิตย์ เลย รูปบนยังอายุ 1 เดือนอยู่เลย ผ่านไป 15 วันงามแตกต่างกันขนาดนี้ สุดยอดเลยค่ะ ที่สำคัญเอาควายทำรุ่นหญ้า ทำได้เรียบร้อยกว่ารถไถเยอะเลย ควายก็อยู่คู่กับเจ้าของได้ เจ้าของก็ได้เงินค่าทำรุ่น ต้องอย่างงี้สิค่ะ การอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ ขอยกนิ้วโป้ง ให้พี่โตน เจ้าของความคิดนี้เลยค่ะ   



 เจ้าทุยอยู่ไหน 



เจ้าทุยตัวหน้า เร่งเข้าเร็ว ทุยตัวหลังจะตามมาทันแล้ว อิอิ :)

จบการอัพเดพสำหรับวันนี้นะค่ะ ไว้อาทิตย์หน้า จะอัพเดพรูปให้ดูกันอีกทีหนึ่ง บายค่ะ


อัพเดพวันที่  26 พ.ค. 54


25 พฤษภาคม 2554

การปลูกอ้อยและวิธีการเพิ่มผลผลิตอ้อย

               
                พูดเรื่องมันสำปะหลังมาก็นานนมแล้ว วันนี้พักสมองเปลี่ยนมาคุยกันเรืองอ้อยบ้างดีกว่านะค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคนที่ปลูกอ้อย ก็ มักจะสนใจปลูกมันสำปะหลังด้วย หลักการง่ายๆ โดยการสังเกตุส่วนตัวของปริมเองนะค่ะ ว่าถ้าให้เลือกระหว่างปลูกอ้อย หรือ มันสำปะหลังดี ก่อนอื่นเราต้อง มาดูที่ดินของเราก่อนว่า ถ้าเป็นดินเหนียว หรือร่วนปนดินลูกรัง แน่นอนว่าไม่ควรปลูกมันสำปะหลัง เพราะมันแทงหัวยาก ทำให้หัวเล็ก ถ้าจะปลูกจริงๆ ก็ใช้การยกร่องสูงๆๆๆ เข้ามาช่วยค่ะ แต่ถ้าเป็นดินเหนียว , ร่วนทราย , ทราย , ลูกรัง แบบนี้เอาพื่้นที่ไปปลูกอ้อยดีกว่า

มาดูระยะการเจริญเติบโตของอ้อยกันก่อนมีดังนี้นะค่ะ


1.ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ 
2.ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว
3.ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้น
4.ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น 

(ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์  กฤชนนทร์ นะค่ะ)


เกริ่นมาซะยาว เอาละ มาว่ากันถึงวิธีการปลูกอ้อยกัน

1. ฤดูการปลูกอ้อย มีสองฤดูปลูกคือ
1.1 การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี
1.2 การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการ ปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือน พ.ย-เม.ย. ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้

ดังนั้นปริมจึงแนะนำให้ปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะทำให้อ้อยมีอายุเลย 10 เดือนกำลังโตเต็มที่ น้ำหนักดี ให้ค่า CCS สูง

2. การเตรียมดิน
ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับการปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อยถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด และไถให้ลึก โดยการใช้ ริบเปอร์ ระเบิดดินดาน การไถถึงชั้นดินดานทำให้มีละอองน้ำจากชั้นดินดานระเหยมาล่อเลี้ยงรากอ้อยได้ เพราะว่ารากอ้อยจะลงลึกกว่า 50 ซม. ดูรูปเครื่องระเบิดดินดานจากรูปด้านล่างค่ะ


ความจริงมีต้วที่ยาวกว่านี้นะค่ะ สำหรับริปเปอร์ตัวนี้ ยังสั้นอยู่ ดูรูปด้านล่างประกอบอีกที แต่ไม่ค่อยชัดนะค่ะ


นึกหน้าตาของมันออกอยู่น้อ เป็นงวงยาวๆ แบบนี้ละค่ะ ใช้ไถระเบิดดินดาน ทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้ดี ดินร่วนซุยดีด้วย

3. การปลูกอ้อยร่องคู่
แต่ก่อนเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยว แม้แต่เครื่องจักรยังเป็นแบบร่องเดี่ยวอยู่เลย ที่แนะนำให้ปลูกคือ ปลูกแบบร่องคู่ ทำให้จำนวนประชากรของอ้อยเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนประชากรอ้อยเพิ่มขึ้น น้ำหนักต่อไร่ของอ้อยก็เพิ่มจำนวนได้ค่ะ ดูรูปจากรูปด้านล่างนะค่ะ

จากรูปจะเห็นได้ว่า ระยะห่างระหว่างร่องแต่ละร่อง คือ 120 ซม. แล้วระยะห่างของแถวสองแถวในร่องคือ 50 ซม. ดูจากรูปจะเข้าใจง่ายค่ะ ถ้าเวลาซื้อรถปลูก ก็จะรถปลูกแบบร่องคู่แบบนี้มาขายแล้วไม่ต้องห่วงค่ะ ^__^ ไม่ได้ลำบากอะไร

แต่ว่าขั้นตอนทีสำคัญต้องอย่าลืมรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์นะค่ะ ที่ปริมแนะนำคือ ปุ๋ยวันเดอร์สูตรสีเขียว เป็นอินทรีย์+กรดอะมิโน ทำให้อ้อยมามีความอวบเขียว แตกยอกเร็ว การใช้ก็ไร่ละกระสอบ วันเดอร์เขียวตามรูปภาพด้านล่าง


ถ้าใครไม่อยากใช้ของปริมก็ สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออื่นได้นะค่ะ แต่การรองพื้นขอให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เลือกที่ดีๆ หน่อยอย่าเอาถูกมากจนมีแต่ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุเลย จะปลุกอ้อยทั้งทีอย่าขี้เหนียวปุ๋ยรองพื้นนะคะ แต่ไม่แนะให้เป็นเคมีรองพื้นนะ เพราะว่าอ้อยยังไม่งอกเลย ปุ๋ยเคมีมันละลายหมดแล้วกินได้ไม่ถึง 15 วันยังไม่ได้งอกเลยหมดฤทธิ์ซะแล้ว ถ้ามีขี้เค้ก ขี้วัว ขี้ควาย นั่นแหละค่ะของดี ใส่ลงไปเลยเป็นตันได้ยิ่งดี ขึ้นตอนนี้ห้ามละเลยถ้าอยากเก็บอ้อยไว้ได้หลายๆ ตอ อย่าขี้เหนียวนะขึ้นตอนนี้ ถ้าไม่มีตังส์ซื้อปุ๋ยจริงๆ ให้อัดปุ๋ยรองพื้นนี่แหละ ดีที่สุดค่ะ แต่ถ้าใส่ตามช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของมันจะดีกว่านะค่ะ ^__^

แต่ยังก่อน ยังไม่จบ ตอนนี้มีการปลูกอ้อยแบบร่อง 4 ด้วยนะค่ะ เพิ่มจำนวนประชากรอ้อยได้มากขึ้นไปอีก แต่การปลูกร่อง 4 ปริมยังไม่แนะนำ รอดูฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีนี้ก่อนให้รู้ว่าได้ผลผลิตกี่ตันต่อไร่ จะสู้ร่องคู่ได้ใหม ปริมเห็นลูกค้า บริษัท ขุนพลกรุ๊ป เขาปลูก เลยขออนุญาติเก็บรูปในแปลงของพี่เค้ามาโชว์ให้ดูนะค่ะ

นี่เครื่องปลูกร่อง 4 นะค่ะ

 งอกระยะแรกๆ สังเกตุเห็นใหมค่ะว่าเป็นร่อง 4 นะ 


นี่งอกได้ประมาณ 2 เดือน ดูความหนาแน่นของประชากรอ้อย

4. การจัดการะบบน้ำ 
อ้อยมีความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ระยะงอกต้องการความชื้้นที่พอเหมาะน้ำไม่ขัง ให้มีความชื้นนิดหน่อยยอดอ้อยก็สามารถแตกยอดขึ้นมาได้ แต่ในระยะ 1- 3 เดือนนี้ อ้อยต้องการน้ำในปริมาณที่มากและต้องไม่ขาดน้ำในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าอ้อยขาดน้ำจะชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ที่สำคัญคนที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเจอปัญหาอ้อยขาดน้ำ ในช่วงนี้แนะนำให้ใช้วิธีการปล่อยน้ำลาด หรือให้ฉีดพ่นทางใบให้กับอ้อย ได้ทั้งน้ำได้ทั้งปุ๋ย ทำให้อ้อยโตเร็วหนี้หญ้าได้ ปุ๋ยน้ำที่ปริมแนะนำให้ใช้ในช่วงนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน + บูตเตอร์สีเงิน จะทำให้อ้อยโตเร็วต้อนรับช่วงย่างปล้องได้เร็ว และบูตเตอร์เงินจะทำให้ลำต้นของอ้อยแข็่งแรง ป้องกันโรคหนอนกอเจาะได้ รูปของปุ๋ยน้ำและบูตเตอร์ดังด้านล่าง 



อันนี้ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบนะค่ะ ในอัตราส่วน 50-100 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับใครที่ไม่อยากใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ จะราดน้ำเฉยๆ หรือฉีดน้ำเฉยๆ ก็ได้ค่ะ แต่ให้ปุ๋ยไปด้วยจะทำให้อ้อยโตเร็วมาก เข้าสู่ช่วงย่างปล้องเร็วมาก 

5. การใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา 
ปุ๋ยทุกอย่างดีหมด ถ้าเรารู้จักใช้ให้ถูกกับเวลาและการเจริญเติบโตของพืช เช่นในระยะ จะเข้าสู่ช่องแตกกอ ต้องเส้นการสร้างใบ และสร้างเนื้อเยื่อ คือช่วงเวลา 2-4 เดือน สำหรับปุ๋ยเม็ด ปริมแนะนำสูตรอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคเอส 16-3-3 อันนี้เอาไว้สร้างใบและต้น ให้โตเร็วหนีหญ้า รูปด้านล่างค่ะ


ปุ๋ยสูตรนี้บำรุงต้น ทำให้ต้นเขียวเร็ว และถ้าเป็นอินทรีย์+เคมีจะทำให้อ้อยเขียวนานมาก มีเคมีในปริมาณที่เหมาะสมทำให้เขียวเร็ว และพอเคมีหมดฤทธิ์เม็ดอินทรีย์ก็ทำงานต่อเนื่องกันทำให้เพียงพอต่อความต้องการธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้อินทรีย์อย่างเดียวในช่างนี้ปริมไม่แนะนำนะค่ะ มันช้าเกินไปสำหรับความต้องการธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้เคมีก็จะหมดเร็วเกิน เคมีมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่เกิน 15 วันก็หมดละ หรือถ้าไม่ใช้ของปริมอยากผสมปุ๋ยเองก็เอาปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับ ยูเรีย 40 -0-0 ก็ใช้ได้ค่ะ แต่ระวังผสมให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะนะค่ะ ถ้ายูเรียมากเกินต้นจะเขียวอวบ ๆ แต่ไม่แข็งแร็งหนอกกอเข้าเจาะลำต้นได้ง่าย ถ้าอยากใช้การฉีดพ่นทางในระยะย่างปล้องแล้ว ขอแนะนำ ไอโอเอ็น จุลินทรีย์ ตรึงไนโตรเจนในอากาศ ในอากาศที่วนเวียนอยู่รอบตัวเรา มีไนโตรเจนเต็มไปหมด แต่อ้อยไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าฉีดยาไบโอเอ็นอ้อยตัวนี้ มันจะทำหน้าที่ดึงไนโตรเจนทีมีอยู่ในอากาศมาใช้ได้ในอ้อย ประโยชน์ของมันคือ 
คุณประโยชน์
1. เพิ่มการสร้าง และตรึงไนโตรเจน (Biological Nitrogen Fixation; BNF) จากอากาศ
   ให้กับต้นอ้อย
2. เพิ่มการย่อยสลาย การปลดปล่อย และการเปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดิน
3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้กับอ้อย

แต่ตัวนี้มีข้อกำจัดคือ เนื่องจากมันเป็นจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต ห้ามใช้คู่กับพวกสารเคมี ยาฆ่าหญ้าอะไร
พวกนี้ ไม่งั้นจุลินทรีย์มันตายหมด ก็เสียดายปุ๋ย เสียดายเงินค่ะ รูปดังด้านล่างนะค่ะ 


6. อยากให้อ้อยได้น้ำหนัก
ค่าCCS ( Commercial Cane Sugar ) เพิ่มขึ้นต้องเน้นในช่วงระยะเดือนที่ 5-6 ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใส่สูตรที่มีตัวหลังสูง อ้อยจะได้น้ำหนักและค่าน้ำตาลพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น ดูจากตารางเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตในช่วงระยะแก่สุก ต้องหลัง 8 เดือนนะค่ะ อ้อยจะมีความหวานเพิ่มขึ้นสำหรับช่วงนี้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคพี สูตร 5-3-14 จะทำให้อ้อยหวานและได้น้ำหนักดูจากรูปนะค่ะ





ถ้าไม่อยากใช้ของปริมก็แนะนำให้เอาแม่ปุ๋ย 0-0-60 ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์หว่าน ในระหว่างเดือนที่ 5 หรือ 6 เข้ากลางร่องเลย ก็โอเคค่ะที่สำคัญ ใส่ปุ๋ญให้ถูกช่วงของการเจริญเติบโต ดูแลอย่าให้ขาดน้ำ แค่นี้ก็โอเคแล้วค่ะ ไม่ยากอย่างที่คิด ปลูกอ้อยทั้งทีอย่าปล่อยตามบุญตามกรรม ทุกอย่างที่เราลงมือทำมันคือต้นทุนทั้งหมด ทำแล้วต้องมีกำไรคำว่ากำไรของปริมคือ ต้นทุนที่ลงไป หัก ค่าใช้จ่ายแล้วไม่ขาดทุน ก็คือกำไร จะกำไรมาก กำไรน้อยก็แล้วแต่เราบริหารนะค่ะ 


ดึกมากแล้ววันนี้ ง่วงละไว้คุยกันคราวหน้านะคะ สำหรับใครสนใจสินค้าหรือ อยากโทรมาปรึกษาวิธีการปลูก หรือเรืองอื่นๆ ยกเว้นโทรปรึกษาเรืองเงิน หรือใครเป็นโรคทรัพย์จางไม่รบปรึกษานะค่ะ  อิอิ

โทรหาปริมได้ที่ 089-4599003 หรือจะอีเมล์มาก็ได้ Farmkaset@gmail.com

ปล. แถมท้ายให้สำหรับการคำนวณค่าของ CCS ค่ะ
ถ้าอ้อย 10 CCS หมายถึงอ้อยหนัก 1 ตัน จะทำน้ำตาลพาณิชย์ได้ 100กิโลกรัม เมื่อโรงงานมีประสิทธิภาพ 100%   ถ้าอ้อย 12 CCS ก็หมายถึงอ้อย 1 ตันจะได้น้ำตาล 120 กิโลกรัมค่ะ

เดี๋ยวคราวหน้ามาแนะนำเรื่องพันธุ์อ้อยกันนะค่ะ วันนี้ไปละค่ะ บายค่ะ 

14 พฤษภาคม 2554

จะปลูกมันพันธุ์อะไรดี

ปริมได้รับโทรศัพท์ จากหลายๆ ท่านโทรมาถามว่า จะปลูกมันพันธุ์อะไรดี มันช่างเป็นคำถามที่ตอบยากจริงๆ ค่ะ แต่วันนี้ปริมมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากเผื่อว่าพอจะช่วยให้แต่ละท่านตัดสินใจได้ดีขึ้น

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า มันสำปะหลังมีกี่ประเภท หากแบ่งตามประเภทแล้ว มันสำปะหลังมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. ชนิดหวาน เช่น มัน 5 นาที ที่เราเอามาเชื่อม หรือเอามาบวช นั่นนะค่ะ มันชนิดนี้ใช้รับประทานได้
2. ชนิดขม เช่น พันธุ์ห้วยบง 60,80 ระยอง เกษตรศาสตร์ พวกนี้ ไม่สามารถนำมารับประทานได้เพราะมีกรดไซยาไนซ์สูง สารตัวนี้ถ้าสัตว์กินหรือคนกินเข้าไปมาก อาจถึงตายได้ แต่ว่า เราสามารถนำมาลดสารพวกนี้ลงได้ โดยการนำ พวก ลำต้น ใบมันสำปะหลัง ไปตากให้แห้ง แล้วสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ถ้าได้กินใบมันสำปะหลังแห้ง จะอ้วนท้วนสมบูรณ์มาก เพราะในใบมันสำปะหลังแห้ง พวกนี้จะมีโปรตีนสูงมาก เหมือนกับพวก อาหารอัดเม็ด ที่ใช้เลี้ยงสัตว์นั่นละค่ะ แต่เราไม่ต้องไปซื้อเขาให้เสียตังส์

ต่อมา เวลาจะปลูกมันพันธุ์ไหน เราควรพิจารณาจากลักษณะพันธุ์กรรม ของพันธุ์นั้นๆ ก่อนว่าดีหรือไม่ดี เปรียบก็เหมือนกับการเลือก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์นั่นแหละค่ะ ถ้าเลือกพ่อแม่พันธุ์ดี ลูกๆ ออกมา ก็สุงยาว เข่าดี หรือจะเลือกแบบ สวย หมวย และ ... ก็ตามใจสะดวก ดูจากรูปกันก่อนนะค่ะ



จากรูปให้สังเกตุว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อตัน/ไร่ ของแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากัน ดูที่พันธุ์ ห้วยบง 60 นะคะ ผลผลิตต่อไร่ได้ 5.75 ตัน เปอร์เซ็นแป้งสูงถึง 25.4 ดังนั้นถ้าเลือกมันพันธุ์นี้ การที่จะดันให้ได้ผลผลิตสัก 10 ตันต่อไร่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ในขณะเดียวกัน ถ้าเลือก ระยอง 90 ให้ผลผลิต 3.69 ตันต่อไร่ ถ้าจะทำให้ได้ 10 ตันต่อไร่แสดงว่า ต้องออกแรงเยอะหน่อย กว่าจะได้เท่าห้วยบง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพันธุ์ระยองไม่ดีนะค่ะ เพราะว่านอกจากองค์ประกอบทางพันธุ์กรรมแล้ว ส่วนหนึ่งทีสำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ ลักษณะดิน เช่น ถ้าดินเป็น ร่วนเหนียว ควรเลือกปลูกพันธุ์ระยอง 5 เพราะลักษณะหัวมันจะป้อม ไม่เหมาะกับการปลูก ห้วยบง เพราะห้วยบงลักษณะหัวจะออกทางยาว กินพื้นที่ในการแทงหัวเยอะ แต่ถ้าเป็นดินร่วยทราย หรือ ทรายจ๋าเลย อันนั้นแหละปลูกห้วยบงไปเลยค่ะ

แต่ว่า ข้อดีข้อเสียของแต่ละพันธุ์ก็มีอยู่นะค่ะ ถึงแม้ว่าห้วยบงจะให้ผลผลิตสูงก็จริง แต่ว่าห้วยบงอ่อนแอกว่าระยองและเกษตรศาสตร์ เยอะ ต้องดูแลกันแบบลูกรัก ประคบประงมมากค่ะ แต่ถ้าเป็นระยองข้อดีคือ ทนโรค ทนฝน ทนแล้ง ทนแมลง แบบว่าความอดทนสูงสุดเลยค่ะ

ดังนั้นจะเลือกพันธุ์อะไรดี ปริมตอบไม่ได้ค่ะ มันต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินของแต่ละพื้นที่และการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปลูกเป็นหลัก แต่ถ้าจะให้แนะนำ ก็แนะนำว่า ในพื้นที่ปลูก ควรจะทดลองปลูกหลายๆ พันธุ์ดูก่อน แล้วลองเปรียบเทียบผลผลิตดูว่าพันธุ์ไหนเหมาะกับพื้นที่ของเรา ปีต่อไปก็ขยายพันธุ์จากที่ปลูกไว้นั่นแหละค่ะ โดยไม่ต้องซื้อ แถมยังขายท่อนพันธุ์ได้อีก

วันนี้ไขข้อข้องใจเรืื่องการเลือกพันธุ์มันไปเปราะหนึ่งแล้วนะค่ะ คราวหน้าเดี๋ยวปริมจะมาอัพเดพเรื่องวิธีการดูพันธุ์มันสำปะหลังว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าพันธุ์ไหนเป็นพันธุ์ไหน พบกันคราวหน้านะค่ะ

14 พ.ค. 54